BAiJR - IN


東方文花帖 ~ Bohemian Archive in Japanese Red.
โทวโฮวบุนคะโฉว (บันทึกอักขระบุปผาแห่งตะวันออก) ~ บทความแหกกฎในสมุดญี่ปุ่นปกแดง


.........................................................................................................................................................................................

ปีฤดูกาลที่ 119

ประเภท : บันทึกช่วยจำบทความพิเศษ
ผู้รับผิดชอบ : ชาเมย์มารุ อายะ

 

หนึ่งราตรีที่ไม่ถึงรุ่งสาง

 

สถานการณ์ตึงเครียดด้วยเหตุวิปลาสครั้งใหญ่ที่หาดูได้ยากในช่วงหลายปีมานี้

เดือน ◯ วันที่ ◯ เวลาก่อนรุ่งสาง, เหตุวิปลาสครั้งใหญ่ที่ไม่ทราบต้นตอก่อให้เกิดสถานการณ์ตึงเครียดขึ้นในเกนโซวเคียว
ท้องฟ้าไม่ยอมสางเป็นเวลาค่อนข้างนาน และความเคลื่อนไหวของพระจันทร์ก็ถูกหยุดเอาไว้ทั้งอย่างนั้น
ทั้งๆที่เป็นคืนวันเพ็ญ
น้อยคนในเกนโซวเคียวนักที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากจันทร์เพ็ญ
ด้วยเหตุนี้เอง จึงคาดกันว่าจะเกิดความอลหม่านขึ้นในเกนโซวเคียวเป็นระยะเวลาหนึ่ง


เนื่องจากไม่อาจคาดเดาสาเหตุหรือจุดประสงค์ได้เลย ทั้งยังเป็นสถานการณ์ที่ต้องแข่งกับเวลา
ทำให้เกนโซวเคียวตกอยู่ในภาวะที่ตึงเครียดมากขนาดที่ฉันเองยังรู้สึกว่าควรจะทำอะไรด้วยตัวเอง แทนที่จะรอให้ถึงตามิโกะออกโรง
สุดท้ายก็ไม่รู้ว่าตอนนี้เวลาผ่านไปนานเท่าใด และเป็นเวลาไหนแล้วกันแน่
แต่จู่ๆพระจันทร์ที่เกือบเต็มดวงก็ลับขอบฟ้าไปด้วยความเร็วที่น่าสะพรึงกลัวหลังจากที่หยุดชะงักมานาน แล้วรุ่งอรุณก็มาเยือนโดยสวัสดิภาพ

ทั้งหมดยังคงเป็นปริศนาว่า ผู้ใดหยุดราตรีไว้ด้วยจุดประสงค์ใด และทำไมจึงถูกคลี่คลายลง
ได้ยินข่าวลือมาว่า ครั้งนี้ก็เป็นผลงานของมิโกะที่ออกไปอาละวาดเสียทั่ว
รู้สึกเสียดายที่เหตุวิปลาสเกิดขึ้นอย่างกะทันหันเกินไปจนไม่สามารถตามสังเกตท่าทีของมิโกะได้
ทว่า, เหตุวิปลาสในครั้งนี้มีเรื่องน่าเป็นห่วงอยู่อย่างหนึ่ง
นั่นคือ นึกไม่ออกเลยว่ามีโยวไคตนใดที่สามารถหยุดการเคลื่อนไหวของพระจันทร์ได้
เหตุวิปลาสที่เกิดขึ้นโดยผู้อื่นที่ไม่ใช่โยวไค หรือจะเป็นฝีมือของมนุษย์

หากจะกล่าวว่าเป็นค่ำคืนอันยาวนานแห่งฤดูใบไม้ร่วง ก็เป็นคืนที่ยาวนานเกินไป
เป็นเหตุวิปลาสครั้งใหญ่ที่ทำเอาโยวไคซึ่งมี Motto (คำขวัญ) ว่า "ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้สถานการณ์แบบใดก็จะสนุกไปกับมัน" ยังต้องรู้สึกร้อนรน
คนร้ายที่ก่อเหตุวิปลาสนี้คิดอะไรอยู่กันแน่, และมีพลังมากมายถึงเพียงไหนกันนะ
จากนี้ไปต้องลองสืบหาข้อมูลเชิงลึกดู


นอกจากนี้ยังได้ยินข่าวลือที่น่าสนใจมากๆมาเรื่องหนึ่งในระหว่างที่กำลังเก็บข้อมูล
ข่าวลือว่า พระจันทร์ในคืนที่ราตรีหยุดชะงัก กับพระจันทร์ในวันถัดมา เป็นคนละดวงกัน
แม้จะเพียงนิดเดียว แต่แสงและสีนั้นต่างกัน และเหนือสิ่งอื่นใด คุณลักษณะของ Energy จากพระจันทร์ที่สาดส่องลงมานั้นต่างกัน

หรือบางที พระจันทร์อาจจะถือกำเนิดใหม่ในวันนั้นก็เป็นได้
และเนื่องจากพิธีกำเนิดใหม่ต้องใช้เวลา พระจันทร์เลยจำเป็นต้องหยุดราตรีเอาไว้
จะคิดอย่างนี้ก็ไม่แปลก
หากเป็นเช่นนั้น เหตุวิปลาสในครั้งนี้ก็มิใช่ฝีมือของโยวไค แต่อาจกล่าวได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่พระจันทร์เป็นผู้ก่อขึ้นเอง
อันที่จริงก็ไม่คิดว่าเหล่าโยวไคซึ่งได้รับผลกระทบจากพระจันทร์ได้ง่ายจะสามารถหยุดพระจันทร์ได้ง่ายๆ
ผู้ที่จะหยุดพระจันทร์ได้นั้นน่าจะเป็นผู้ที่ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากพระจันทร์ หรือเป็นฝีมือของพระจันทร์เสียเองมากกว่า

แต่มีข่าวลือว่า มิโกะเริ่มออกอาละวาดตั้งแต่ก่อนที่ราตรีจะหยุดลง, การลงความเห็นเช่นนี้นับว่าด่วนตัดสินเกินไป
หากมีคนที่สามารถก่อให้เกิดเหตุวิปลาสที่ยิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้อย่างง่ายๆอยู่ล่ะก็ ต้องถือว่าเป็นบุคคลอันตรายอย่างยิ่งยวด
อย่างนี้ยิ่งต้องรีบสืบหาสาเหตุโดยเร็ว
(ชาเมย์มารุ อายะ)

Tips :
-เหตุการณ์จริงๆในภาคนั้นก็คือ คางุยะเอาพระจันทร์จริงไปซ่อน แล้วเอาพระจันทร์ปลอมที่ไม่เต็มดวงมาแทนที่
พวกตัวเอกจึงหยุดราตรีเอาไว้เพื่อตามหาพระจันทร์ แล้วถูกคางุยะใช้ความสามารถ สิ้นพลัน ของเธอร่นเวลาจนถึงเช้าในพริบตา
ซึ่งปรากฏในเกมให้เราเห็นเป็น ลาสท์เสปล 「永夜返し」 (ราตรีนิรันดร์หวนคืน) ของคางุยะ นั่นเอง
- อันที่จริงข่าวลือในตอนท้ายนั้นถูกต้องแล้ว เพราะมิโกะเป็นคนหยุดราตรีเอาไว้
และก็อย่างที่อายะว่า คนที่ทำได้ขนาดนี้ต้องมีพลังสูงมากและเป็นคนที่อันตรายอย่างมากด้วย

東方永夜抄 ~ Imperishable Night.
โทวโฮวเอย์ยะโชว (บทสรุปราตรีนิรันดร์แห่งตะวันออก) ~ ราตรีที่ไม่สิ้นสุด

วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 มาเยือนฤดูใบไม้ร่วง, แต่พระจันทร์ที่ควรเต็มดวงกลับแหว่งไปเล็กน้อย
เหล่าโยวไคที่ได้รับอิทธิพลจากพลังของพระจันทร์ค่อนข้างมาก ล้วนตกอยู่ในสถานการณ์เคร่งเครียด
จึงออกตามหาเศษเสี้ยวของพระจันทร์ที่หายไป ร่วมกับมนุษย์ผู้ไม่เร่งร้อนและไม่รู้สึกตัวถึงเหตุวิปลาส
ต่อให้ต้องหยุดราตรีไว้จนกว่าจะนำจันทร์เพ็ญที่แท้จริงกลับคืนมาสู่เกนโซวเคียวได้ก็ตาม――




.........................................................................................................................................................................................

กลับไปที่สารบัญของหนังสือเล่มนี้