BAiJR - Patchouli


東方文花帖 ~ Bohemian Archive in Japanese Red.
โทวโฮวบุนคะโฉว (บันทึกอักขระบุปผาแห่งตะวันออก) ~ บทความแหกกฎในสมุดญี่ปุ่นปกแดง


.........................................................................................................................................................................................

ฤดูกาลที่ 119 เดือนจันทรคติที่ 7 วันที่ 4

งานประลองมหาเซทสึบุนหลงฤดู ณ คฤหาสน์มารแดง
จะว่าไปแล้ว เซทสึบุนนี่มันคืออะไรเหรอ ?, เหล่าเมดกล่าว

เดือน ◯ วันที่ ◯, ทั้งๆที่ใกล้จะเข้าหน้าร้อนแล้ว แต่คฤหาสน์มารแดงซึ่งตั้งอยู่ริมทะเลสาบกลับจัดงานประลองเซทสึบุนหลงฤดูขึ้นมา
พิธีเซทสึบุนไม่ถูกจัดขึ้นมานานมากแล้ว เพราะไม่มียักษ์อยู่ในเกนโซวเคียว
ด้วยเหตุนี้ ในหมู่เมดจึงมีคนที่ไม่รู้จักพิธีเซทสึบุนอยู่เหมือนกัน
ในครั้งนี้ฉันได้เข้ามาหาข้อมูลเรื่องที่จู่ๆก็คิดจัดงานประลองเซทสึบุนขึ้น, ทำให้ฉันพลอยรู้สึกคึกคักจนอยากเข้าไปร่วมวงด้วย

คฤหาสน์มารแดงจัดงานเซทสึบุนขึ้นจนอลหม่านวุ่นวายเพราะเห็นเงาคนเมื่อใดให้ปาถั่วใส่เป็นอันดับแรก, จนคฤหาสน์เต็มไปด้วยถั่วคั่ว
เรมิเลีย สคาร์เลท (ผีดูดเลือด) เจ้าแห่งคฤหาสน์มารแดง กำลังงับเอะโฮวมาคิอยู่ในปากโดยมิได้เข้าร่วมกิจกรรมปาถั่ว

「ท่าทางถั่วคั่วนี่จะไม่ไหวแฮะ
 พอลองกำขึ้นมาก็ลวกมือซะนี่... ...
 เพราะงั้นเลยได้แต่สนุกกับการนั่งดูทุกคนปาถั่วใส่กัน
 แล้วก็, การปาถั่วใส่ฉันเป็นเรื่องต้องห้าม
 ดูเหมือนว่าถ้าสัมผัสถั่วแล้วจะโดนลวกเอาน่ะนะ」 (เรมิเลีย)

ผู้วางแผนจัด Event นี้ขึ้นคือ แพชูลี่ โนว์เลดจ์ (แม่มด)
มาลองฟังกันดีกว่าว่าเหตุใดเธอจึงคิดจัดงานเซทสึบุนหลงฤดูแบบนี้อย่างกะทันหัน

「หลงฤดู ? พูดอะไรออกมาน่ะ
 เซทสึบุนน่ะคือวันที่แบ่งแยกฤดูนะ ?
 ช่วงเวลาที่สิ้นฤดูใบไม้ผลิแล้วย่างเข้าฤดูร้อนอย่างตอนนี้นี่ล่ะที่เป็นเซทสึบุนไม่ใช่รึ
 ปีนี้ตัดสินใจแล้วว่าจะเสริมมาตรการรับมือยักษ์, เซทสึบุนจึงเป็นกระสุนนัดแรกสำหรับมาตรการรับมือดังกล่าว
 ข้อมูลเกี่ยวกับเซทสึบุนมีน้อย รายละเอียดปลีกย่อยจึงอาจจะพิลึกสักหน่อย
 แต่โดยพื้นฐานแล้วดูเหมือนว่าถ้าปาถั่วใส่กันแล้วจะดี ก็เลยให้พวกเมดลองทำดู」 (แพชูลี่)

จากนั้นจึงถามต่อว่าเหตุใดจึงตัดสินใจเสริมมาตรการรับมือยักษ์ขึ้นมาอย่างกะทันหัน

「ทำอะไรสักอย่างล่วงหน้าจะได้ไม่ล้ม (เป็นสำนวนหมายถึง ป้องกันไว้ก่อน)
 ถ้าเกิดคฤหาสน์ของปิศาจถูกยักษ์บุกรุกในช่วงที่สงบสุขจนเคยตัว มันก็ไม่ตลกใช่มั้ยล่ะ ?」

คฤหาสน์มารแดงสงบสุขจนเคยตัวเต็มที่
นับตั้งแต่เหล่ายักษ์ได้อพยพออกไปจากเกนโซวเคียวอย่างสมบูรณ์ก็ผ่านไปค่อนข้างนานแล้ว
แม้ปัจจุบันจะมีการจัดงานเซทสึบุนประหลาดๆแบบนี้ ยักษ์ก็ไม่กลับเข้ามาในเกนโซวเคียวแล้วล่ะ
เทนกุอย่างพวกเราเป็นคนพูดแบบนั้นล่ะก็ไม่มีทางผิดพลาดแน่
เพราะปัจจุบัน, ผู้ที่รู้เรื่องยักษ์ดีที่สุด ก็คือพวกเราเหล่าเทนกุเท่านั้น
(ชาเมย์มารุ อายะ)

Tips :
- ในที่นี้ใช้คำว่า งานแข่ง งานประลอง แทนที่จะเป็นคำว่าเทศกาลหรือพิธี และแทนที่จะปาถั่วพอเป็นพิธี ดันปาถล่มกันเป็นดันมาคุซะอย่างนั้น (ตามภาพ)
- เซทสึบุน แปลตรงตัวได้ว่า แบ่งฤดู หมายถึงวันก่อนวันแรกของแต่ละฤดู แต่โดยทั่วไปจะนิยมหมายถึง เซทสึบุนฤดูใบไม้ผลิ
ซึ่งจะถูกจัดขึ้นในวันที่ 3 เดือน 2 (หรือวันที่ 4 ในกรณีของปีอธิกสุรทินซึ่งเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน) เพื่อต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ และมีพิธีปาถั่ว (วันอื่นไม่มี)
จึงไม่แปลกที่อายะจะมองว่าพาเช่จัดงานเซทสึบุนหลงฤดู
- โดยปกติแล้วพิธีเซทสึบุนประกอบด้วย
การปาถั่วออกนอกบ้าน หรือปาใส่คนในบ้านที่สวมหน้ากากยักษ์ พร้อมพูดว่า "ยักษ์จงออกไป ความสุขจงเข้ามา" ทั้งนี้ก็เพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคล
การทานถั่วเท่าจำนวนอายุของตนเอง เพื่อรับเอาสิริมงคลเข้าตัว
การทานเอะโฮวมาคิ (ซูชิม้วนแบบไม่ตัด) โดยขณะทานจะต้องหันหน้าไปยังทิศที่เป็นมงคลของปีนั้นๆ (คิดตามปีนักษัตร)
แต่อย่างไรก็ดี พิธีเซทสึบุนในแต่ละท้องที่ก็มีความแตกต่างกัน
บางที่พูดว่า "ยักษ์จงเข้ามา ความสุขจงออกไป" ก็มี "ยักษ์จงเข้ามา ความสุขจงเข้ามา" ก็มี
หรือพูดว่า "ความสุขจงเข้ามา" เพียงอย่างเดียวก็มี บางที่ก็พูดว่า "ขว้างลูกตายักษ์ให้แตกเลย !"
นอกจากนี้บางที่ยังกินถั่วเพิ่มอีกหนึ่งเม็ดเพื่อขอพรให้สุขภาพดีตลอดปีก็มี
ถั่วที่ใช้ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ บางแห่งใช้ถั่วคั่ว บางแห่งใช้ถั่วลิสง
- หากอ้างอิงตามคำอธิบายช่วงเวลาเกี่ยวกับฤดูล่ะก็
แสดงว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ในภาค 7.5 ซึ่งปรากฏว่ายังมียักษ์ (ซุยกะ) อยู่จริงๆ
- บางทีนี่คงเป็นสาเหตุว่า ทำไมแพชูลี่ในภาค 7.5 ถึงรู้เรื่องเกี่ยวกับยักษ์และจุดอ่อนของยักษ์มาก่อนที่จะเจอกับซุยกะ
แต่น่าเสียดายที่วันนั้นเธอไม่มีถั่วคั่ว
และถึงมี... มันก็อาจไม่ใช่จุดอ่อนที่แท้จริงของยักษ์ (อ่านต่อด้านล่าง)


เอาเลย
เกนโซวเคียว

(อาราตะ โทชิฮิระ)

ยูยูโกะ 「นี่~โยวมุ รู้มั้ยว่าทำไมเค้าจึงสอนให้นับกระต่ายเป็น 1ปีก 2ปีก」
โยวมุ 「อ๊ะ รู้สิคะ」


โยวมุ 「คุณนักบวชที่ถูกห้ามทานเนื้อสัตว์อ้างเหตุผลข้างๆคูๆว่า」
    (นี่ไม่ใช่หู แต่เป็นปีก)
    (กระต่ายไม่ใช่สัตว์ แต่เป็นนก)
โยวมุ 「ข้ออ้างนี้ก็เลยกลายเป็นต้นกำเนิดของการนับแบบนั้นสินะคะ」
ยูยูโกะ 「ใช่แล้วใช่แล้ว」






ยูยูโกะ + โยวมุ 「นก สินะ」
อุดองเกะ (เฮือก)

Tips :
- ปีก เป็นลักษณะนามของญี่ปุ่นที่ใช้นับจำนวนของสัตว์ปีก แต่ก็ใช้นับกระต่ายด้วยเช่นกัน


.........................................................................................................................................................................................


(บทพูดนี้คาดว่าเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ในภาค 7.5 แล้ว)
แพชูลี่ 「เคยมียักษ์อยู่แน่ๆ」
อายะ 「อย่างนั้นเหรอคะ ? นั่นคือคนที่พลัดหลงแล้วแน่ๆหรือภาพลวงตาสินะคะ」
แพชูลี่ 「คนที่พลัดหลงแล้วแน่ๆน่ะ」 (คาดว่าหมายถึงซุยกะที่เหลืออยู่ตัวคนเดียว)
อายะ 「การปาถั่วได้ผลมั้ยคะ ?」
แพชูลี่ 「หลังจากนั้นต้องทำความสะอาดกันแทบแย่เลยล่ะ」
อายะ 「มันก็ควรจะเป็นอย่างนั้นอยู่หรอกค่ะ」
แพชูลี่ 「ถึงจะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องเป็นแบบนี้แต่แรก ก็เลยห้ามปาถั่วในห้องสมุดก็เถอะนะ」
อายะ 「ฉันคิดว่าปาใส่กันตรงๆมากเกินไปค่ะ
    อันที่จริง แค่พูดว่า "ยักษ์จงออกไป" แล้วปาถั่ว 2~3 ครั้ง ก็พอแล้วล่ะค่ะ」
แพชูลี่ 「หืーม
    แต่ก็ไม่ได้ปาเกินไปมากนะ」
อายะ 「แล้วก็รู้สึกว่า ที่ให้ปาใส่กันนี่จะมีอะไรบางอย่างที่ผิดอยู่ค่ะ」
แพชูลี่ 「แบบนั้นน่าจะดีแล้วล่ะ
    เพราะถ้ามียักษ์ปะปนเข้ามาในหมู่เมดก็จะรู้ได้ทันที ว่ามั้ย ?
    แต่อันที่จริง ดูเหมือนว่าเรมี่จะสัมผัสถั่วไม่ได้ซะด้วยสิ」
อายะ 「ผีดูดเลือดก็แพ้ถั่วคั่วสินะคะ」
แพชูลี่ 「เรมี่ทำท่าเหมือนจะเบื่อๆเซ็งๆ ก็เลยให้กินซูชิม้วนหนาไป」
อายะ 「อันนั้นดูไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับยักษ์เลยนะคะ... ...」
แพชูลี่ 「ท่าทางเธอจะรู้เรื่องเซทสึบุนไม่น้อยเลยนะ
    เป็นเพราะอะไรเหรอ ?」
อายะ 「เพราะว่าในอดีตนั้น เทนกุกับยักษ์มีสัมพันธ์อันดีต่อกันค่ะ
    ดังนั้นไม่เพียงแต่เรื่องเซทสึบุนหรอกนะคะ ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับยักษ์ล่ะก็ พวกเรารู้ดีที่สุดในเกนโซวเคียวเลยล่ะค่ะ」
แพชูลี่ 「เหรอ, ถ้างั้นรู้รึเปล่าว่าทำไมถึงใช้การปาถั่วในการขับไล่ยักษ์ ?」
อายะ 「เคยได้ยินว่าเกี่ยวกับพวกหลักห้าธาตุหรือพวกประตูผีอะไรทำนองนั้นน่ะค่ะ」
แพชูลี่ 「ผิดแล้ว ผิดแล้ว
    เธอเองก็พูดแต่เรื่องที่เหมือนจะแถไปแถมาของมนุษย์นะ
    ความจริงแล้วมันเรียบง่ายมากๆเลยล่ะ」
อายะ 「เห」
แพชูลี่ 「นั่นน่ะคือการละเล่นที่ยักษ์คิดขึ้น เพื่อประชดมนุษย์น่ะ
    เพราะว่ายักษ์เกลียดการพูดโกหกของมนุษย์ที่สุด จึงมอบถั่วคั่วให้แก่มนุษย์ไป」
อายะ 「อย่างนั้นเหรอคะ」
แพชูลี่ 「แต่เดิม การปาถั่วนั้นเกี่ยวข้องกับการเกษตร เพราะปาออกไปในสภาพที่กำลังแตกต้นอ่อน
    เมื่อเอาถั่วไปคั่วไฟก็จะแตกต้นอ่อนไม่ได้
    สุดท้ายกลายเป็นว่า... ...มนุษย์แสดงวิธีทำเกษตรกรรมแบบลวงๆไป」
อายะ 「ในขณะที่มนุษย์ไม่รู้ตัวก็จะหว่านเมล็ดถั่วไปพร้อมประกาศว่า "เราเป็นคนโกหก~" สินะคะ」
แพชูลี่ 「บางทีตอนแรก มันอาจเป็นจุดอ่อนที่พวกยักษ์คิดขึ้น แล้วบอกแก่มนุษย์ที่น่าจะสามารถกำราบพวกตนได้ก็เป็นได้」
อายะ 「มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องทำอย่างนั้นเหรอคะ ?」
แพชูลี่ 「นั่นก็เพราะ... ...พลังที่แข็งแกร่งมากเกินไปยังไงล่ะ
    ความจริงก็คงมีจุดอ่อนถึงตายอยู่เหมือนกัน แต่ก็สร้างจุดอ่อนขึ้นมาแทนที่ ก่อนที่จะถูกพบจุดอ่อนถึงตายนั้น
    สิ่งที่แข็งแกร่ง มักมีจุดอ่อนพิลึกๆน่ะนะ」
อายะ 「จะบอกว่า การที่ผีดูดเลือดแพ้ถั่วคั่วเนี่ยก็เพื่ออำพรางว่าตนแพ้แสงแดดเหรอคะ ?」
แพชูลี่ 「ที่ว่าแพ้แสงแดดนี่ก็อาจจะเป็น Camouflage (การอำพราง) ก็ได้นะ
    แค่มีร่มกันแดดคันเดียวก็ออกไปเดินข้างนอกได้แล้วนี่」
อายะ 「ดูเหมือนว่าคุณเองก็แพ้แสงแดดเกินคาดนะคะ
    ที่ผ่านมาเหมือนจะไม่เคยเห็นคุณโดนแสงแดดเลย ?」
แพชูลี่ 「แสงแดดมันทำร้ายหนังสือและเส้นผมเลยไม่ชอบน่ะ」

Tips :
- ประตูผี หมายถึง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อันเป็นทิศอัปมงคลตามหลักการขององเมียว โดยเชื่อกันว่าเป็นทิศที่ยักษ์ใช้ในการเข้าออกไปมา
- แม้อายะจะพูดว่าเมื่อก่อนเทนกุเข้ากับพวกยักษ์ได้ดี แต่ในโทวโฮวกุมอนชิคิกล่าวไว้ว่า พวกยักษ์ใช้งานเทนกุในการสร้างสังคมยักษ์...
สิ่งที่น่าคิดก็คือ โทวโฮวกุมอนชิคินั้นอัพเดทกว่าโทวโฮวบุนคะโฉว แต่สิ่งที่อยู่ในโทวโฮวกุมอนชิคินั้นก็เป็นเพียงงานเขียนจากมุมมองของอาคิวเท่านั้น


แพชูลี่ โนว์เลดจ์

แม่มดอายุประมาณร้อยปี เพื่อนของเรมิเลีย
ปกติจะเอาแต่เก็บตัวอยู่ในห้องสมุด เพราะเป็นโรคหืดหอบ
เชี่ยวชาญเวทวิญญาณ

ผลงานการแสดง :
『東方紅魔郷』
『東方萃夢想』
『東方永夜抄』 (ในฉากจบ)



.........................................................................................................................................................................................

กลับไปที่สารบัญของหนังสือเล่มนี้